วัดพลังงานในชีวิตประจำวันและการออกกำลังกายได้อย่างไร ? เลือกอย่างไรให้เหมาะกับคุณ?
ปัจจุบันนี้เราสามารถวัดการใช้พลังงานของร่ายกายได้แย่างง่ายดายด้วยเครื่องมือการวัดแคลอรี่ ซึ่งเป็นการวัดพลังงานแบบทางอ้อม ที่มีตามท้องตลาดทั่วไปมีหลักการวัดพลังงาน 2 แบบ คือ
1 Motion sensor based
เป็นการวัดพลังงานที่คำนวนจาก sensor รับการเคลื่อนไหว โดยใช้หลักการเคลื่อนไหวของร่างกาย มาคำนวนเป็นแคลอรี่ เช่น เครื่องนับก้าวบางรุ่น( Podometer), Accelerometer , activity tracker ต่างๆ ที่นิยมตามท้องตลาด ได้แก่ Fitbit , Nike fuel band , Omron เป็นต้น
ข้อดี เครื่องพวกนี้ขนาดเล็กสามารถพกพาติดตัวได้ตลอดเวลา
ประหยัดพลังงาน บางชนิดใช้ได้ถึง 1 สัปดาห์ต่อการ charge 1 ครั้ง
บางชนิดสามารถเก็บบันทึก ข้อมูลส่วนตัว น้ำหนัก ส่วนสูง Guide น้ำหนักที่ควรจะเป็นบันทึกชนิด. และ พลังงานของอาหารแต่ละมื้อ
มี Sleep mode บันทึกการนอนของคุณได้
ช้อจำกัด. การออกกำลังที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น เล่น weight, จักรยาน, yoga อาจทำให้คำนวนพลังงานคลาดเคลื่อนได้มาก
ไม่สามารถบอกการออกกำลังกายที่เหมาะสมได้
2 Heart rate Based
เป็นการวัดพลังงานที่คำนวนมาจากอัตราการเต้นของหัวใจ โดยใช้หลักการเต้นของหัวใจ ที่เปลี่ยนแปลง แต่ละอายุและเพศ มาคำนวนเป็นการใช้พลังงานในการออกกำลังแบบ Aerobic excercise อุปกรณ์ พวกนี้ได้แก่ นาฬิกาวัดชีพจรหลาย Brand เช่น Polar Timex Omron Garmin เป็นต้น
ข้อดี มีความแม่นยำสูงในการวัดแคลอรี่จากการออกกำลังกาย
สามารถออกกำลังกายตาม Zone ที่เราต้องการเพื่อบรรลุเป้าหมายการออกกำลังกาย เช่น ลดน้ำหนักหรือเพิ่มความฟิต
ทำให้ป้องกันการออกกำลังที่มากเกินไปจนเกิดการ overtrain และน้อยไปจนไม่ได้ประโยชน์
บางรุ่นสามารถวัดความเร็วและระยะทางการออกกำลังกายได้
ข้อจำกัด ต้องใช้สายคาดอก จึงไม่สามารถใส่ตลอดทั้งวันได้สะดวก
การออกกำลังกายแบบ Anarobic เช่น เล่น weight อาจได้ค่าที่ไม่แม่นยำจริงเท่าออกกำลังแบบ Aerobic
ถ้าคุณเน้นการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ เราแนะนำ นาฬิกาวัดชีพจรสักเรือน แต่ถ้าคุณต้องการการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง ในชีวิตประจำวัน เน้นเรื่องการควบคุมน้ำหนักเป็นหลัก เราแนะนำ activity tracker สักตัวเป็นผู้ช่วยของคุณ
เรียบเรียงโดย Avarin shop
Click เพื่ออ่าน บทความอื่นๆ