12 ข้อแนะนำ สำหรับออกกำลังกายในอากาศร้อน
- ตั้งค่า แสดงอุณหภูมิ ในนาฬิกาทุกครั้งในการออกกำลังหน้าร้อน หรือดูก่อนออก
- อุณหภูมิที่เกิน 5 องศา ถือว่าออกกำลังในที่ร้อน ยิ่งสูง ยิ่งต้องกินน้ำให้พอ
- เติมน้ำให้ไม่รู้สึกหิวก่อนออกกำลังกาย ไม่อดน้ำเพราะกลัวปัสสาวะบ่อยหรือฝึกอดน้ำ
- ดื่มน้ำบ่อยๆ ตามความหิว เป็นการเติมน้ำที่ดีที่สุด เช่น ทุก 2 กิโล หรือตามรอบการวิ่งครบลูป
- ดื่มน้ำเย็น ช่วยลด core temperature อุณหภูมิแกนกลางได้ดีกว่า ทำให้ลดการเสียพลังงานในการวิ่ง
- การเอาน้ำราดตัว ช่วยให้อุณหภูมิลดลงชั่วคราว แต่ไม่ช่วยเรื่องการขาดน้ำ
- ไม่ดื่มน้ำครั้งละมากๆ ทีเดียวเสี่ยงต่อเกลือแร่ต่ำ ให้ดื่มบ่อยๆแทน
- เมื่อดื่มน้ำเกิน 1 ลิตร ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ร่วมได้เลย แสดงถึงการเสียเหงื่อและเกลือแร่ที่มากแล้ว
- เหงื่อไม่ได้บอกปริมาณน้ำที่ต้องดื่มเสมอไป เพราะบางที่อากาศร้อนแห้ง เหงื่อจะระเหยได้ไวทำให้เหมือนเหงื่อออกไม่เยอะ
- สังเกตสีปัสสาวะ ถ้าเข้มดื่มน้ำเพิ่ม
- ให้ระวังภาวะฉุกเฉินจากความร้อน เช่น Heat exhaust และ Heat stroke วิ่งแล้วเหนื่อยมากผิดปกติ คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ ต้องหยุดทันที
- ยิ่งอุณหภูมิในนาฬิกาสูง ยิ่งต้องระวัง เกิน 35 องศา ไม่แนะนำออกกำลังกายหนักในที่กลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว