ออกกำลังกายมากเกินไป มีผลเสียกับหัวใจไหม ?

ออกกำลังกายมากเกินไป มีผลเสียกับหัวใจไหม ?

อันนี้เป็นเรื่องที่อยากเขียนมานาน หลังจากรวบรวมความรู้ ได้เรียบร้อย เลยขอสรุปง่ายๆให้ฟัง

ก่อนอื่นขออธิบาย การออกกำลังกาย มี 2 แบบ

1.Static ออกแรงแบบ สั้นและแรง. เช่น กีฬา ยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ วิ่ง ระยะสั้น ปั่น แบบ กดๆ

2.Dynamic ออกแรง กลางๆ และผ่อน เป็นจังหวะ เช่น วิ่งระยะไกล ว่ายน้ำระยะไกล ปั่นยาวๆ ไตรกีฬา

(ดูชนิดกีฬาได้ตามภาพนะครับ )

ไม่จำเป็นว่า 1 กีฬา ต้องเป็น แบบใดแบบหนึ่ง. บางกีฬาเป็นแบบผสมกันได้ เช่นไตรกีฬา เป็นทั้ง statiic และ Dynamic การออกกำลังต่อเนื่อง ด้วยระยะเวลาที่มากพอ ความหนักที่มากพอ จะทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของหัวใจ เกิดขึ้น เรียกว่า ภาวะ EICR (exercise induce cardiac remodeling)

ผลการเปลี่ยนแปลง อธิบายง่ายๆ ได้ดังนี้

1.Static ทำให้ หัวใจห้องล่างหนาตัว โดยเฉพาะข้างซ้าย
2.Dynamic ทำให้หัวใจ ขยายตัว ได้ทุกห้อง ทั้งด้านซ้ายและขวา หัวใจเต้นช้าลง

ถ้ามีทั้ง Static และDynamic ก็จะทั้งโตและหนา

อะไรเป็นจุดที่ต้องระวัง ?

การออกกำลังกาย แบบ Endurance ต่อเนื่อง เป็นการเพิ่มความดันในหัวใจห้องซ้ายและขวา แต่ที่เราเป็นห่วงกัน คือหัวใจห้องขวา ที่ไม่สามารถปรับตัว กับแรงดันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้ ทำให้เกิดหัวใจโตได้ และเชื่อว่าอาจทำให้มีปัญหาตามมาระยะยาวได้ สิ่งสำคัญพบว่า คนที่ออกกำลังกายจนมี EICR โดยเฉพาะ แบบ Dynamic ( Endurance ) เมื่อติดตามผลไปพบว่า มีอุบัติการณ์ การเกิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบ Atrial Fibrillation สูงกว่า คนปกติ ถึง 13 % ข้อนี้ถือว่าชัดเจนมากๆ ว่ามีผลเสียจากการออกกำลังมากเกินไป และ เริ่มมี Case Report มีการพบการเกิด micro Fibrosis ( พังผืดขนาดเล็ก ) ที่หัวใจ ที่ยังไม่ชัดเจนนัก แต่มีตัวเลขมากขึ้นเรื่อยๆ และเชื่อว่าเกิดจากการออกกำลังกายที่มากเกินไปเช่นกัน

ถ้าเกิด EICR แล้ว หยุดออกกำลังกาย หัวใจจะกลับมาเหมือนเดิมหรือไม่ ?

ส่วนใหญ่ กลับมาปกติ แต่มีส่วนน้อยมากๆ หัวใจอาจกลับมาไม่เหมือนเดิม เช่น ยังมีภาวะหัวใจโตอยู่

จะทำยังไงถึงไม่เกิด หัวใจผิดปกติถาวร จาก EICR ?

คำตอบ อย่าออกกำลังมากและนานเกินไป อย่างต่อเนื่อง ( OverExercise)
วิธีปฏิบัติ คือ แบ่งชีวิตให้มีช่วง Training และ Detraining หมายความว่า มีช่วงซ้อม เตรียมแข่ง. และต้องมีช่วงพัก ยาวๆ ให้หัวใจกลับมาปกติ ไม่ใช่ ซ้อมทั้งปี ด้วยปริมาณที่สูงต่อเนื่องโดยไม่พักเว้นช่วงเลย
Detraining ไม่ได้หมายความว่าต้องหยุดออกเลยทุกอย่างนะครับ แต่ให้ออกกำลังแบบเพื่อสุขภาพพอ เช่น 30 นาที ต่อครั้ง เบาๆ หรือเปลี่ยนรูปแบบออกกำลังให้ลด Workload ลง ลดระยะเวลาลง

กับดักนักกีฬา “เสพติดความฟิต”

ถ้าเป็น Professional Athletic การฟิตซ้อมต่อเนื่อง เป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นอาชีพที่ต้องพร้อมกับการแข่งขัน แต่ถ้านักกีฬาสมัครเล่น อย่ากลัวที่จะหยุด อย่าเสพติดความฟิต อย่าเสียดายความฟิต ให้พักการออกกำลังลงบ้าง หรือ Detraining สลับกับ Training เป็นระยะ เพื่อลดการเกิด EICR นะครับ
สรุป ออกกำลังกายมากไป มีผลเสียกับหัวใจบ้างไหมตอบสั้นๆว่า “มี” แต่เป็นส่วนน้อยมากๆ ตาม Condition ที่ผมอธิบาย ส่วนภาพใหญ่ๆ การออกกำลังกาย ยังทำให้คนเราแข็งแรง และอายุยืนขึ้น และอันนี้ ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังนะครับ ผมขอแนะนำภาพกว้างๆ แบบนี้ก่อน จะได้ง่ายต่อการอ่าน รายละเอียด ย่อยๆ ตัวเลขต่างๆ สอบถามเข้ามาได้นะครับจะหามาให้ ครั้งหน้า จะสรุป การตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกายนะครับ

รบกวนแชร์ให้เพื่อนๆด้วยนะครับ

ตรวจ สมรรถภาพ ในนักกีฬา เพื่อเข้าใจร่างกายตัวเองอย่างละเอียด
ซ้อมได้ดีขึ้น กรองโรคที่เป็นอันตราย ในการออกกำลังกาย
ราคาเท่า รองเท้าแค่คู่เดียว แต่จะทำให้คุณวิ่งได้เร็วขึ้น และปลอดภัย

รายละเอียด http://bit.ly/2JKdtvf

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า