โรคที่ไม่ใช่โรค “หัวใจนักกีฬา” หรือ Athletic heart

HealthInfoCenterHeart

 

 

 

heart-figure2

 Athlete’s heart

เมื่อวันก่อนมีพี่ในทีมไตรกีฬา ปรึกษาผมว่า ตรวจคลื่นหัวใจแล้วผิดปกติ  เต้นช้าเกิน และเหมือนหัวใจหนาตัว จะเป็นไรไหม ต้องตรวจหัวใจอะไรเพิ่มไหม  ผมเลยบอกว่าพี่ยังไม่เป็นโรคอะไร เพียงแต่ พี่มี “หัวใจเป็นนักกีฬา ( Athlete s heart )”อยู่ครับ

นักกีฬาหรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำหลายท่าน คงเคยไปตรวจสุขภาพประจำปี และพบ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ คือ ต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที และอาจพบว่า คลื่นหัวใจมีลักษณะ หัวใจห้องซ้ายล่างหนาตัวกว่าปกติ  จึงต้องทำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาเพิ่มเติม  ซึ่งมากกว่า 90 % จะตรวจไม่พบโรคความผิดปกติใดๆ เพราะเป็นกลไกการปรับตัวตามธรรมชาติ ให้เกิด หัวใจนักกีฬา หรือ  athlete’s heart

 

อะไรคือ Athlete s heart

Athlete s heart คือกลไกการปรับสภาพของหัวใจในนักกีฬาที่ออกกำลังแบบ endurance exercise เป็นประจำ เช่น วิ่ง ว่าย ปั่น (  โดยปกติมากกว่า 1 ชมต่อวัน)

การออกกำลังกายเป็นประจำแบบนี้เหมือนเป็นการ Train หัวใจ ให้แข็งแรงขึ้น  กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้น  หนาขึ้น สูบฉีดเลือดได้มากขึ้น  พูดง่ายๆ เหมือนหัวใจคุณกำลังเข้ายิม เล่นกล้ามให้ตัวเอง หนาขึ้น บึกขึ้น  กล้ามใหญ่ขึ้น มีพลังมากขึ้น

ผลที่ได้รับคือ ช่วงที่คุณพัก  resting HR ของคุณ อาจจะอยู่แค่ที่ 40-60 ครั้งต่อนาที เพราะหัวใจคุณหนาขึ้น  สูบฉีดเลือดได้มากขึ้นต่อ 1 การบีบ ทำให้หัวใจไม่ต้องบีบตัวเร็วก็สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงให้ร่างกายอย่างพอเพียง

 

มีผลอย่างไรกับร่างกาย

ระยะสั้น คุณฟิตขึ้น ออกกำลังได้ทนขึ้น แข็งแรงขึ้น

ระยะยาวโดยส่วนมาก สามารถกลับมาเป็นขนาดปกติ  เมื่อคุณหยุดออกกำลังกายแบบ aerobic endurance หัวใจก็กลับสู่ขนาดปกติใน 2 เดือน

แต่เริ่มมีรายงานในส่วนน้อย โดยเฉพาะ คนที่มีหัวใจข้างขวา โตมากๆ เป็นเวลานาน โดยไม่มีการพักของการออกกำลังกายแบบ Endurance เพียงพอ พบปัจจัยเสี่ยง ในการเกิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ แบบ Atrial Fibrillation มากกว่าคนปกติ

 

ถ้าเจอแล้วต้องให้แพทย์ตรวจเพิ่มเติมโดยละเอียดไหม

ควรดูเป็นรายๆไป เพราะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวบางโรค ( HOCM ) ที่ตรวจ คลื่นหัวใจ พบกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวได้ แต่ไม่ได้เป็นการปรับตัวต่อการออกกำลังกาย และเป็นอันตรายถึงชีวิตถ้าออกกำลังกายหนักเกินไป

ซึ่งเจ้าโรค Hypertrphic cardiomyopathy ( HOCM ) เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ทำให้นักกีฬาเสียชีวิตคาสนาม

แพทย์สามารถมีวิธีตรวจแยกโรคนี้ออกจาก Athlete s heart ได้

 Opinion

เริ่มมีการพัฒนาองค์ความรู้ ของ Sports Cardiology มากขึ้นในระยะหลัง ที่เชื่อว่า Athlete s heart ซึ่งเป็นผลจากการออกกำลัง แบบ Endurance exercise ในระดับสูงและเป็นเวลานานต่อเนื่อง พบว่า มีส่วนน้อย ที่อาจมีผลเสีย อาทิ เกิดความเสี่ยงในการเกิด หัวใจเต้นผิดจังหวะสูงกว่าคนปกติ และยังมีรายงานย่อยๆ ที่ยังต้องการข้อมูลเพิ่ม ในการเกิด แผลเป็นขนาดเล็ก ที่กล้ามเนื้อหัวใจ

ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย การออกกำลังแบบ Endurance exercise ควรมีช่วง Detraning สลับเข้ามาด้วย คือ พัก ลด workload การอออกกำลังกายลงเป็นช่วงๆ ด้วย

อย่างไรก็ดี ภาพรวมของคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีอายุที่ยืนยาวกว่าคนไม่ออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายที่มากเกินระดับ เป็นเวลานาน อาจส่งผลเสีย ระยะยาวกับทางด้านหัวใจได้เช่นกัน แม้ว่าจะเกิดน้อยมาก

ดังนั้นนักดีฬาที่ออกกำลังกาย แบบ Endurance exercise เป็นระยะเวลานาน ควรตรวจเช็ค สุขภาพด้านหัวใจด้วย เพื่อดูภาวะ Athlete s heart และใช้แยก คัดกรองโรคหัวใจอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อการออกกำลังกาย

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Medical Health Avarinshop

Update 10/10/2017

 

 

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า