Fact 9 ข้อ ความดัน กับการออกกำลังกาย

 

Fact 9 ข้อ ความดัน กับการออกกำลังกาย

1 เวลาเราออกกำลังกาย ความดันจะต้องสูงขึ้น ส่วนใหญ่ขึ้นมาแถว 140-160 mmhg แต่ต้องไม่เกิน 200 ถ้าเกินถือว่าสูงไป

2 ในคนที่ความดันสูง การออกกำลัง แบบ Static exercise เช่น ยกน้ำหนักที่หนักมาก เบ่งมากๆ  ต้องระวังความดันจะสูงขึ้นมากจนอาจเกิดอันตราย ควรคุมความดันให้ดีก่อน

3 เวลาออกกำลังกาย ความดันไม่ควรต่ำลง ถ้าต่ำลง ผิดปกติ ยิ่งมีอาการ เหนื่อย เร่งไม่ขึ้น HR ไม่สูงขึ้น อาจมีโรคหัวใจซ่อนได้

4 หลังออกกำลัง ความดันจะต่ำลงชั่วคราว เป็นหลักชั่วโมง เราไม่เอาค่านี้มาใช้เป็นความดันปกติของเรา หรือในการปรับยาความดัน

5 การออกกำลังแบบ Aerobic exercise ที่ความหนักเหมาะสม  ปริมาณเหมาะสม สามารถลดความดันลงได้ 10 mmhg และทำให้อายุยืนขึ้น

6 การออกกำลังแบบ Isometric exercises เช่น การทำ Hangrip exercise, Wall sit สามารถลดความดันเพิ่มได้อีก 8-10 mmhg คนที่มีความดันโลหิตสูง ทำตรงนี้เพิ่มได้

7 ก่อนออกกำลังกาย ถ้าความดันเกิน 160 mmHg ควรให้แพทย์ปรับยาให้ดี ก่อนที่จะออกกำลังกายหนัก และไม่ควรออกเลยถ้าความดันเกิน 180 mmHg

8 การลดความดัน จากการปรับพฤติกรรมที่ได้ผล ได้แก่ ออกกำลัง ลดเค็ม ลดน้ำหนัก ทำเต็มที ความดันลงได้ถึง 20-30 เลยทีเดียว

9 ถ้ากินยาความดันเป็นประจำ ให้กินยาตามเวลาได้เลย ถ้าคิดว่าเราจะออกกำลังกายนาน และเลยมื้ออาหารเช้าปกติ ไม่ต้องรอวิ่งเสร็จแล้วค่อยกิน

ใส่ความเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า