10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หัวใจนักกีฬา (Athlete’s Heart)

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หัวใจนักกีฬา (Athlete’s Heart)

 

หัวใจนักกีฬา คือการปรับตัวของหัวใจที่เกิดจากการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ต่างจากโรคหัวใจอย่างไร?

อ่าน 10 ข้อเท็จจริงน่ารู้เกี่ยวกับหัวใจนักกีฬา พร้อมเทคโนโลยีตรวจหัวใจที่ช่วยแยกโรคและข้อควรระวังสำหรับนักกีฬา

1.หัวใจใหญ่ในนักกีฬา ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

หัวใจของนักกีฬามักมีขนาดใหญ่ และหรือ หนากว่าคนทั่วไป ตามการปรับตัวของชนิดกีฬา

เพราะต้องปรับตัวสูบฉีดเลือดมากขึ้นเพื่อเลี้ยงกล้ามเนื้อขณะออกกำลังกาย

2.เราค้นพบ หัวใจนักกีฬา ครั้งแรกในปี 1899

Salomon Eberhard Henschen แพทย์จากสวีเดน พบว่านักกีฬาสกีน้ำแข็ง Nordic ski athletes มีขนาดหัวใจใหญ่กว่าคนทั่วไป จากการเคาะที่หน้าอก เราเรียกการตรวจร่างกายแบบนี้ ว่า Chest percussion ฟังเสียงความทึบ ว่าต่างจากคนทั่วไปที่ไม่ได้ออกกำลัง

3.หัวใจแข็งแรงขึ้นตามการฝึก

เมื่อเราออกกำลังกายหนัก และนานพอ หัวใจจะปรับตัวโดยเพิ่มขนาดและความแข็งแรงของผนังหัวใจ

หัวใจบีบตัว 1 ครั้ง เลือดไปเลี้ยงร่างกายได้มากกว่าเดิม

ปกติ ขณะพัก หัวใจจะบีบเลือดไปร่างกาย 5 ลิตร ต่อนาที (Cardiac output) ขณะออกกำลังกาย เลือดไปเลี้ยงได้ถึง 25-30 ลิตร ต่อนาที

นักกีฬายิ่งฟิต หัวใจยิ่งบีบเลือดไปร่างกายได้มาก สะท้อนออกมาในการวัดค่า Vo2 max

4.ความแตกต่างระหว่าง “หัวใจนักกีฬา” กับ “หัวใจที่เป็นโรค”

หัวใจนักกีฬาเป็นการปรับตัวชั่วคราว หากหยุดออกกำลังกาย หัวใจก็จะกลับขนาดเดิม ต่างจากโรคหัวใจที่เกิดจากพยาธิสภาพที่เป็นถาวร

ส่วนใหญ่แยกกันได้ แต่บางครั้งแยกกันยาก ต้องตรวจดูเพิ่มเติม ดังนั้นง่ายที่สุด นักกีฬา ควรทำคลื่นหัวใจไว้ ก่อนทำการซ้อมหนัก เพื่อใช้แยกโรคได้ดีขึ้น

5.Athlete’s Heart พบในกีฬา Endurance

กีฬาที่ใช้เวลานาน เช่น วิ่งมาราธอน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน  ส่วนใหญ่ จะเริ่มเกิด เมื่อมีการออกกำลังที่เกิน 300 นาทีต่อสัปดาห์ขึ้นไป

ช่วงผมซ้อมแข่ง ironman ซ้อม 16 ชม. ต่อสัปดาห์ ตรวจหัวใจตัวเองก็โตขึ้นจริง แข่งเสร็จ ออกกำลังระดับปกติก็กลับมาไม่โต

6.หัวใจเต้นช้ากว่าเพราะประสิทธิภาพดีขึ้น

นักกีฬามักมีอัตราการเต้นหัวใจขณะพัก (Resting Heart Rate) ต่ำกว่าคนทั่วไป เพราะหัวใจสูบฉีดเลือดได้มากขึ้นต่อการเต้น 1 ครั้ง รวมถึงการออกกำลัง ทำให้กระตุ้นระบบ ประสาทอัตโนมัติ Parasympathetic เพิ่มขึ้น ทำให้หัวใจอาจลงไปถึง 40 ครั้งต่อนาที ขณะพัก

แต่บางครั้งอาจมีโรคหัวใจที่ทำให้หัวใจเต้นช้า ดังนั้น หัวใจที่เต้น 40-49 ครั้งต่อนาที ควรตรวจคลื่นหัวใจ

7.ไม่ใช่ทุกคนจะมีหัวใจนักกีฬา

คนที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพทั่วไปอาจไม่ถึงจุดที่หัวใจต้องปรับขนาด แต่การออกกำลังกายยังช่วยให้หัวใจแข็งแรง การมีสุขภาพที่ดี ไม่จำเป็นต้องมีหัวใจนักกีฬา

8.เทคโนโลยีตรวจหัวใจช่วยยืนยันได้

การตรวจด้วยเครื่องมือเช่น EKG (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) หรือการทำ Echocardiogram (อัลตราซาวด์หัวใจ) การทำ MRI ช่วยแยกหัวใจนักกีฬาออกจากโรคได้

9.หัวใจนักกีฬายังมีข้อควรระวัง

แม้จะเป็นการปรับตัวที่ดี แต่ควรมีการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นระยะทุก 1 ปี  โดยเฉพาะนักกีฬาที่มีประวัติครอบครัว  ปัจจัยเสี่ยง หลอดเลือดหัวใจ คนที่มีคราบไขมัน มีหลอดเลือดตีบไม่มาก ทำให้การทำงานหัวใจทำได้ปกติเหมือนนักกีฬา

และยิ่งอันตราย เพราะ แข่งหนักทำให้ โรคที่ซ่อนปะทุออกมา อันตรายถึงชีวิตได้

10.การออกกำลังกายยังเป็นหัวใจของสุขภาพ

แม้คุณจะไม่ใช่นักกีฬา แต่การออกกำลังกายสม่ำเสมอยังช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม  เป็นหัวใจของสุขภาพที่ดี

สุดท้าย หัวใจนักกีฬา ถ้ามี ต้องทั้งภายใน และภายนอก

นั่นคือ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ครับ

 

หมอแอร์

หมอหัวใจและการกีฬา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า