VO2 MAX คือค่าที่สำคัญที่สุดของนักกีฬาจริงหรือ?

VO2 MAX คือค่าที่สำคัญที่สุดของนักกีฬาจริงหรือ?

ผมเชื่อว่า คนเกือบ 90% ที่ได้อ่านบทความนี้ คงต้องรู้จักกับค่า VO2 MAX ว่าคืออะไรไม่มากก็น้อย. เพราะว่าค่านี้ ยิ่งเอามาถ่ายรูปลง Social Media ในกลุ่มเพื่อนนักกีฬาเมื่อไหร่ เป็นต้องมีอันภูมิใจว่า ตอนนี้ความฟิตของตัวเองได้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งขั้นแล้ว.

ก่อนที่ผมจะเชื่อมโยงเข้าเรื่อง 3 phases of training zone ผมต้องเกริ่นอะไรอีกหลายอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจค่าทางสรีระวิทยาให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้ไม่สับสนในการเขียนบทความเชิงลึกถัดไป

ด้วยเหตุผลที่ว่า วงการวิทยาศาสตร์การกีฬาไม่ได้หยุดและยึดติดกับคำว่า VO2MAX ในนักกีฬาเสมอไป. จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคน ตั้งสมมติฐานขึ้นมาในแนวทางเดียวกันว่า “ทำไมบุคคล A กับ B มีค่า VO2MAX ที่เท่ากัน, ความสูงไล่เลี่ยกัน, เผ่าพันธุ์เดียวกัน แต่ทำไมการทำเวลาเข้าเส้นชัยถึงต่างกัน?”

ผมมีโอกาสหลายครั้งที่ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายของ “ศาสตราจารย์ Andrew Jones” มหาวิทยาลัย Exeter ผู้อยู่เบื้องหลัง Breaking Two-Hour ของ Eliud Kipchoge {นักกีฬาผู้ที่(เกือบ)ทำลายสถิติวิ่งมาราธอนได้ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง (https://www.youtube.com/watch?v=_aZW2AisjVU)}

ศาสตราจารย์ได้กล่าวถึงงานวิจัยของ “Dr. Ben Londeree” มหาวิทยาลัย Missouri ผู้ที่ได้มีโอกาสทำการประเมินระบบการใช้พลังงานของนักกีฬาระดับ Elite Level ต่ออัตราส่วนของ VO2MAX ในแต่ละระยะการวิ่ง (เริ่มจาก 800 เมตร ถึง 42.195 กิโลเมตร).

ผลการทดลองจากนักกีฬาสรุปได้ว่า การวิ่ง 800 เมตรนักกีฬาจะใช้พลังงานที่มีอัตราส่วนเท่ากับ 130% ของ VO2MAX; เมื่อวิ่ง 1,500 เมตร อัตราส่วนจะอยู่ที่ 110% ของ VO2MAX; การวิ่ง 3,000 เมตร นักกีฬาจะใช้ร่างกายอยู่ที่อัตราส่วน 100% ของ VO2MAX

แต่เมื่อทำการแข่งขันในระยะ 5,000 เมตร ร่างกายจะใช้พลังงานที่อัตราส่วน 96% ของ VO2MAX; ระยะ 10,000 เมตรอยู่ที่ 92% ของ VO2MAX และ สุดท้ายระยะ ”มาราธอน” 42.195 กิโลเมตร นักกีฬาระดับโลกจะใช้พลังงานเฉลี่ยในร่างกายอยู่ที่อัตราส่วน 85% ของ VO2MAX.

เพราะฉะนั้นแล้วหลังจากการอ่านสรุปผลงานวิจัยคร่าวๆ สามารถยกคำถามตัวอย่าง ให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า:

1.ทำไม Usian Bolt (เจ้าของสถิติโลก 100 และ 200 เมตร) ถึงมี Top Speed หรือ ขีดจำกัดในร่างกายอยู่แค่ระยะการวิ่ง 400 เมตร?

2.แต่ทำไม Usian Bolt ไม่สามารถสู้ Mo Farah (เจ้าของเหรียญทอง Olympic ระยะ 5,000 และ 10,000 เมตร) ได้ในการแข่งขันวิ่ง 5,000 & 10,000 เมตร?

3.ทำไม Mo Farah วิ่ง 10,000 เมตร ได้เร็วกว่า Eliud Kipchoge?

4.แต่ทำไมในระยะ Marathon Eliud Kipchoge กลับวิ่งหนี Mo Farah ได้อย่างขาดลอย?

*** Mo Farah คือใครดูคลิปนี้ได้เลยครับ https://www.youtube.com/watch?v=hI2eM2YYwS0

คำตอบคือ

1.Usian Bolt ไม่สามารถใช้ค่า 92% ของ VO2MAX ได้ดีเท่า Mo Farah ในการวิ่ง 10 กิโลเมตร

2.Mo Farah ไม่สามารถใช้ค่า 85% ของ VO2MAX ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่า Eliud Kipchoge ในขณะแข่งขันระยะมาราธอน.

ศาสตราจารย์ Andrew Jones ได้สรุปประโยคสุดท้ายในงานวิจัยว่า “เมื่อระยะทางการแข่งขันมีระยะเกิน 5,000 เมตรแล้ว. ค่า ‘Sub-Maximal Performance’ จะกลายเป็นค่าที่มีความสำคัญไม่แพ้ VO2MAX. ใครที่สามารถคงอยู่กับค่า Sub-Maximal ได้ดีที่สุดในแต่ละระยะ จะมีแนวโน้มที่เข้าเส้นชัยได้เร็วกว่าคนอื่น”

สุดท้ายแล้วการตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด. ถ้าคุณซีเรียสกับการแข่งขันเพื่อที่จะทำเวลา คุณจะต้องมีความคุ้นเคยกับระบบ “Sub-Maximal” ในร่างกายในช่วง 80%-90% ของ VO2MAX ให้มาก ๆ.

ถ้าใครอยากที่จะจบการแข่งระยะ Fun Run หรือจบ Marathon แบบสบายๆ ค่า Sub-Maximal ในช่วง 60-80% ของ VO2MAX ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่ทำให้คุณหลีกเลี่ยงการ Overtraining ในช่วงฝึกซ้อม หรือ Lack of motivation ในช่วงการแข่งขัน.

ลองติด Tag ให้เพื่อนหรือคนรักคุณดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าเขาเหมาะกับการเป็น Buddy ในการวิ่งของคุณหรือไม่? “หรือ” เขาเหมาะกับการเป็น Pacer ที่ลากตัวคุณเข้าเส้นชัยเพื่อจุดประสงค์ในการคว้า New PB เพราะเขาอาจจะมองเห็น Unseen Potential ในตัวคุณก็เป็นได้

ในบทความถัดไป 3 phases of training zone จะช่วยอธิบายให้กระจ่างว่า มีค่า “Sub-Maximal” อะไรบ้างในเชิงวิทยาศาสตร์การกีฬาที่สำคัญพอๆกับ VO2MAX

พีรภัทร ศิริเรือง
BSc (Hons) & MSc; Human & Sports Performance, University of Portsmouth

Photo Credit: https://lockerdome.com/sportskeeda.com/6964897745480468
แหล่งที่มาบทความ: https://www.facebook.com/HPTThailand/posts/1882743385349629 

ตรวจ สมรรถภาพ ในนักกีฬา เพื่อเข้าใจร่างกายตัวเองอย่างละเอียด
ซ้อมได้ดีขึ้น กรองโรคที่เป็นอันตราย ในการออกกำลังกาย
ราคาเท่า รองเท้าแค่คู่เดียว แต่จะทำให้คุณวิ่งได้เร็วขึ้น และปลอดภัย

รายละเอียด http://bit.ly/2JKdtvf

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า