หลังจากทดสอบ VO2max ในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกัน หมอแอร์ได้ค่า VO2max อยู่ที่ 52 ml.min.kg ในขณะ น้องฮอทได้ค่า อยู่ที่ 58 ml.min.kg
เราสองคนจึงมาประลองว่าใครจะวิ่งระยะ 3 กิโลเมตร, 10 กิโลเมตร, และ 21 กิโลเมตร ได้ดีกว่ากัน???
“ผลการแข่งขันระยะ 3 กิโลเมตร”
น้องฮอทจบที่เวลา 12:03 นาที ในขณะหมอแอร์ จบที่ 14:25 นาที. ปัจจัยหลักเลยที่น้องฮอทเข้าเส้นชัยก่อน คือ การคงอยู่กับค่า VO2max ที่สูงกว่าหมอแอร์แบบรวดเดียวจบ
ยิ่งมีอายุน้อยกว่าหมอแอร์ความฟิตของหัวใจและหลอดเลือด และ กล้ามเนื้อชนิดที่สอง (รูปแบบระบบแอนแอโรบิค) ย่อมดีกว่าหมอแอร์ถ้าดวลกันในระยะสั้น
“ผลการแข่งขันระยะ 10 กิโลเมตร และ 21 กิโลเมตร”
ว่ากันว่าการวิ่ง 10 กิโลเมตร และ 21 กิโลเมตร ที่มีประสิทธิภาพสุด คือ การคงความหนักของงานที่ 92% และ 87% ของ VO2max.
หมอแอร์เป็นคนที่ซ้อมในช่วง Lactate Threshold หรือ 85% ของ VO2max กับ ลงคอร์ท Interval ที่ความเร็ว 100% ของ VO2max บ่อยมาก.
ทำให้เวลาวิ่งแล้วหมอแอร์ สามารถเกาะขอบที่ 87-92% ได้สม่ำเสมอ ตลอดระยะทางกิโลเมตรที่ 1 ถึง 21. แต่น้องฮอทสาย Endurance มักโฟกัสความหนักที่ 60-70% ของ VO2max เพราะจะวิ่ง 100 กิโลเมตร
ทำให้พอไปดวล 10 และ 21 กิโลเมตร กับหมอแอร์. น้องฮอทสามารถเกาะขอบได้แค่ 75% ของ VO2max เพราะถ้าไปเกาะขอบที่ 80% ของ VO2max จะอยู่ได้แค่ 10 กิโลเมตรแค่นั้น ระยะที่เหลือชนกำแพงแน่นอน
หมอแอร์จึงเข้าเส้นชัยที่ 44 นาที ในการวิ่ง 10 กิโลเมตร ในขณะที่น้องฮอทใช้เวลา 49 นาที
ส่วน 21 กิโลเมตร ยิ่งเพี้ยนเข้าไปใหญ่หมอแอร์ทิ้งห่างน้องฮอทเกือบ 15 นาทีเลย (1.37 ต่อ 1.50 ชั่วโมง) ไม่อยากคิดว่ามาราธอนจะขนาดไหน
สุดท้ายแล้วถ้าคุณจะวิ่ง 10 กิโลเมตรเป็นต้นไป อย่าคิดว่ามี VO2max สูงจะได้เปรียบ แต่คุณควรจะซ้อมขอบของ 80-85% และ 85%-95% ของ VO2max ให้มีคุณภาพ มิฉะนั้นคุณจะเก่งแค่ระยะที่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตรเท่านั้น
“เพราะโลกของการวิ่งมีมากกว่าค่า VO2max”
ฮอท พีรภัทร